Welcome to Mathematic Experiences Management for Early Childhood


วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 7
วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การเรียนการสอน
อาจารย์ยกตัวอย่างเรื่องมาตรฐานทางคณิตศาสตร์ที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน
อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับมาตรฐานสาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้


สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
ให้กับเด็ก รวมทั้งเป็นแนวทางในการกำกับ ตรวจสอบ และประเมินผล
มาตรฐานการเรียนรู้จัดให้อยู่ภายใต้สาระหลัก ดังนี้
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค.ป. 1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้
จำนวนในชีวิตจริง
สาระที่ 2 : การวัด
มาตรฐาน ค.ป. 2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
เงิน และ เวลา
สาระที่ 3 : เรขาคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 3.1 : รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
มาตรฐาน ค.ป. 3.2 : รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลง
รูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ สาระที่ 4 : พีชคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 4.1 : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค.ป. 5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ
สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

ค้นคว้าเพิ่มเติ่ม

เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์

การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆทางคณิตศาสตร์ อันเป็นพื้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก ดังนี้
♦ จำนวนและการดำเนินการ จำนวน การดำเนินการของจำนวน การรวมและ
การแยกกลุ่ม
♦ การวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
♦ เรขาคณิต ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิต
สองมิติ
♦ พีชคณิต แบบรูปและความสัมพันธ์
♦ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ
♦ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล
การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

อ้างอิง

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 6

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานำกล่องอะไรก็ได้มาคนละ 1 ชิ้น จากนั้นให้นักศึกษาบอกว่ากล่องที่ตนเองเอามามีรูปทรง รูปร่างเหมือนอะไร ดิฉันนำกล่องนมไป และตอบว่า เหมือนตู้เย็น จากนั้นให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม 3 กลุ่ม กลุ่มละ 11-12 คน โดยอาจารย์กำหนดดังนี้










 ผลงานของแต่ละกลุ่ม

กลุ่มที่ 1 มีการคุยกันได้และวางแผนว่าจะนำกล่องต่างๆมาทำเป็นรูปอะไร

กลุ่มที่ 2 ห้ามคุยกันและปรึกษากัน  วางกล่องทีละคน (กลุ่มของดิฉัน)

กลุ่มที่ 3 คุยกันได้ แต่เวลาจะวางกล่องให้วางทีละคน

กลุ่มที่ 1  ทำเป็นรูปหุ่นยนต์

กลุ่มที่ 2 ทำเป็นรถไฟ

กลุ่มที่ 3 ทำเป็นบ้าน

งานที่อาจารย์สั่ง

ให้นักศึกษาผลิตสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยแบ่งกลุ่ม 3 กลุ่ม กลุ่มละ 11-12 คน