Welcome to Mathematic Experiences Management for Early Childhood


วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 7
วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การเรียนการสอน
อาจารย์ยกตัวอย่างเรื่องมาตรฐานทางคณิตศาสตร์ที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน
อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับมาตรฐานสาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้


สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
ให้กับเด็ก รวมทั้งเป็นแนวทางในการกำกับ ตรวจสอบ และประเมินผล
มาตรฐานการเรียนรู้จัดให้อยู่ภายใต้สาระหลัก ดังนี้
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค.ป. 1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้
จำนวนในชีวิตจริง
สาระที่ 2 : การวัด
มาตรฐาน ค.ป. 2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
เงิน และ เวลา
สาระที่ 3 : เรขาคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 3.1 : รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
มาตรฐาน ค.ป. 3.2 : รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลง
รูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ สาระที่ 4 : พีชคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 4.1 : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค.ป. 5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ
สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

ค้นคว้าเพิ่มเติ่ม

เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์

การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆทางคณิตศาสตร์ อันเป็นพื้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก ดังนี้
♦ จำนวนและการดำเนินการ จำนวน การดำเนินการของจำนวน การรวมและ
การแยกกลุ่ม
♦ การวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
♦ เรขาคณิต ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิต
สองมิติ
♦ พีชคณิต แบบรูปและความสัมพันธ์
♦ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ
♦ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล
การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

อ้างอิง

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 6

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานำกล่องอะไรก็ได้มาคนละ 1 ชิ้น จากนั้นให้นักศึกษาบอกว่ากล่องที่ตนเองเอามามีรูปทรง รูปร่างเหมือนอะไร ดิฉันนำกล่องนมไป และตอบว่า เหมือนตู้เย็น จากนั้นให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม 3 กลุ่ม กลุ่มละ 11-12 คน โดยอาจารย์กำหนดดังนี้










 ผลงานของแต่ละกลุ่ม

กลุ่มที่ 1 มีการคุยกันได้และวางแผนว่าจะนำกล่องต่างๆมาทำเป็นรูปอะไร

กลุ่มที่ 2 ห้ามคุยกันและปรึกษากัน  วางกล่องทีละคน (กลุ่มของดิฉัน)

กลุ่มที่ 3 คุยกันได้ แต่เวลาจะวางกล่องให้วางทีละคน

กลุ่มที่ 1  ทำเป็นรูปหุ่นยนต์

กลุ่มที่ 2 ทำเป็นรถไฟ

กลุ่มที่ 3 ทำเป็นบ้าน

งานที่อาจารย์สั่ง

ให้นักศึกษาผลิตสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยแบ่งกลุ่ม 3 กลุ่ม กลุ่มละ 11-12 คน

วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 5
วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันนี้อาจาร์อธิบายขอบข่ายของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

คลิกที่รูปภาพเพื่อขยาย


 คลิกที่รูปภาพเพื่อขยาย


ความรู้ที่ได้ 
 1.ได้รู้ขอบข่ายในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
2.ได้รู้แนวการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก 
3. สามารถนำไปจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละช่วงอายุได้

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555



สัปดาห์ที่ 4

วันศุกร์ ที่ 23 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันนี้ทางคณะศึกษาศาสตร์มีการจัดการแข่งขันโครงการกีฬาสีศึกษาสัมพันธ์ จันทราต้านยาเสพติด จึงงดการเรียนการสอน


ดิฉันได้เข้าร่วมกิจกรรมที่คณะจัดคือ เป็นกองเชียร์ของสีส้ม และชนะเลิศรางวัลอันดับที่ 1




คลิกเพื่อชม VDO การแข่งกองเชียร์และเชียร์ลีดเดอร์

ความรู้ที่ได้
1 ได้เข้าร่วมกิจกรรมทางคณะศึกษาศาสตร์จัดขึ้น
2 มีความสามัคคีกัน
3 เป็นการสนับสนุนการใช้เวลาว่างที่เป็นประโยชน์
4 ได้รู้จักกับรุ่นพี่และเพื่อนต่างสาขา
5 สนุกสนานในการแข่งเชียร์และดูการแข่งขันกีฬา
6 ได้รับความรู้และประสบการณ์ในการเข้าร่วมกิจกรรม

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 3

วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานั่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน จากนั้นให้ตัวแทนในแต่ละกลุ่มยืนขึ้น 1 คน ให้เปลี่ยนไปนั่งกับเพื่อนกลุ่มอื่น ให้เพื่อนในกลุ่มอีก 1 คน ไปนั่งกับเพื่อนกลุ่มอื่นโดยไม่ซ้ำกับกลุ่มเดิม จากนั้นให้นักศึกษาหยิบงานทีอาจารย์ให้ไปค้นคว้าเกี่ยวกับหนังสือคณิตศาสตร์ โดยเพื่อนในกลุ่มช่วยกันอ่าน และเขียนสรุป โดยต้องอ้างอิงแหล่งที่ค้นคว้า ชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง ปี พ.ศ.
กลุ่มของดิฉันมี่สมาชิก ดังนี้
1 นางสาวปริชญา   บุญล้ำเลิศ
2 นางสาวธนาภรณ์  โคกสีนอก
3 นางสาวอรอนงค์   อ้วนวงษ์

1 ความหมายของคณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์จัดเป็นภาษาอย่างหนึ่ง ที่กำหนดขึ้นด้วยหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ ที่รัดกุมพร้อมสื่อความหมายได้อย่างถูกต้อง และยังทำให้ผู้เรียนรู้จักแก้ปัญหา มีเหตุผลในการทำสิ่งต่างๆ

อ้างอิง (Kieth Gregson,Max Black และ ยุพิน พิพิธกุล)

2 จุดมุ่งหมายของคณิตศาสตร์
เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาในการคิดคำนวณ สามารถนำคณิตศาสตร์ไปใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ และในการดำรงชีวิต จึงต้องให้ผู้เรียนมีลักษณะดังนี้
 1 มีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะ และการคิดรวบยอดของวิชาคณิตศาสตร์
 2 รู้จักคิดอย่างมีเหตุผล และมีความสามารถในการแก้ปัญหา
 3 มีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์
 4 สามารถนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ไปใช้ได้อย่างมีคุณภาพ

อ้างอิง (นิตยา ประพฤติกิจ (2536) การพัฒนาเด็กปฐมวัย. พร้อมพรรณ อุดมสิน (2533) การวัดและการประเมินผลการเรียนการสอนคณิตศาสตร์. เรวัตร พรหมเพ็ญ (2536)พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา.)

3 ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์
แนวคิดของทฤษฎี เด็กต้องมีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง และแสดงความคิดเห็นเพื่อให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดจาการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งครูผู้สอนต้องมีการจัดการเรียนรู้อย่างมีระบบโดยเน้นผู้เรียนเป็นหลัก

อ้างอิง (นิตยา ประพฤติกิจ (2536) การพัฒนาเด็กปฐมวัย.)

4 ขอบข่ายของคณิตศาสตร์

 1 การนับ              
 2 ตัวเลข
 3 การจับคู่
 4 การจัดประเภท
 5 การเปรียบเทียบ
 6 การจัดลำดับ
 7 รูปทรงและพื้นที่
 8 การวัด
 9 เชต
 10 เศษส่วน
 11 การทำตามแบบหรือลวดลาย
 12 การอนุรักษ์

อ้างอิง (นิตยา ประพฤติกิจ (2536) ขอบข่ายหลักสูตรคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย. เยาวพา เดชะคุปต์ กิจกรรมสำหรับเด็กวัยก่อนเรียน)

 5 หลักการสอนคณิตศาตร์
  1 ให้นักเรียนปฏิบัติและทำกิจกรรมด้วยตนเอง
  2 สร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้เป็นกันเองระหว่างครูกับนักเรียน
  3 ใช้สื่อที่เป็นรูปธรรมมากกว่าสื่อที่เป็นนามธรรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้น
  4 เชื่อมโยงระหว่างสื่ิอกับความเข้าใจด้านคณิตศาสตร์
  5 การจบบทเรียนด้วยความประทับใจ

  อ้างอิง (Maxa Sobel (2544) ศิลปะการสอนคณิตศาสตร์. นิตยา ประพฤติกิจ (2536) การพัฒนาเด็กปฐมวัย. เยาวพา เดชะคุปต์ (2545) การศึกษาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ 1.)


วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 2

วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย โดยใช้ทฤษฎีของเพียเจต์
แบ่งพัฒนาการเป็น 3 ช่วง แต่ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยมี 2 ช่วง
1 การใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า (แรกเกิด-2 ขวบ)
2 ขั้นก่อนปฏิบัติการ ( 2-6 ขวบ) แบ่งเป็น 2 ช่วง ดังนี้
   2-4 ขวบ เด็กใช้คำสั้นๆและยังใช้ประสาทสัมผัส
   4-6 ขวบ เด็กรู้จักใช้คำที่เป็นประโยคมากขึ้น เริ่มมีการใช้เหตุผล
อาจารย์ให้นักศึกษายกตัวอย่างสิ่งที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในห้องเรียน
 เช่น ลำโพง ให้เสียงดัง-เบา
      กระดาน เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 



คลิกเพื่อขยายภาพ

วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 1


วันศุกร์ที่ 2 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเรียนการสอน
อาจารย์แนะนำให้ทำ blogger
อาจารย์ตั้งคำถาม 2 ข้อ
1.คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคืออะไร ให้เขียนมา 2 ประโยค
2.คาดหวังว่าเรียนวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจะทำให้เราได้เรียนรู้และได้รับประสบการณ์อะไรบ้าง