Welcome to Mathematic Experiences Management for Early Childhood


วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 3

วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานั่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน จากนั้นให้ตัวแทนในแต่ละกลุ่มยืนขึ้น 1 คน ให้เปลี่ยนไปนั่งกับเพื่อนกลุ่มอื่น ให้เพื่อนในกลุ่มอีก 1 คน ไปนั่งกับเพื่อนกลุ่มอื่นโดยไม่ซ้ำกับกลุ่มเดิม จากนั้นให้นักศึกษาหยิบงานทีอาจารย์ให้ไปค้นคว้าเกี่ยวกับหนังสือคณิตศาสตร์ โดยเพื่อนในกลุ่มช่วยกันอ่าน และเขียนสรุป โดยต้องอ้างอิงแหล่งที่ค้นคว้า ชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง ปี พ.ศ.
กลุ่มของดิฉันมี่สมาชิก ดังนี้
1 นางสาวปริชญา   บุญล้ำเลิศ
2 นางสาวธนาภรณ์  โคกสีนอก
3 นางสาวอรอนงค์   อ้วนวงษ์

1 ความหมายของคณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์จัดเป็นภาษาอย่างหนึ่ง ที่กำหนดขึ้นด้วยหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ ที่รัดกุมพร้อมสื่อความหมายได้อย่างถูกต้อง และยังทำให้ผู้เรียนรู้จักแก้ปัญหา มีเหตุผลในการทำสิ่งต่างๆ

อ้างอิง (Kieth Gregson,Max Black และ ยุพิน พิพิธกุล)

2 จุดมุ่งหมายของคณิตศาสตร์
เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาในการคิดคำนวณ สามารถนำคณิตศาสตร์ไปใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ และในการดำรงชีวิต จึงต้องให้ผู้เรียนมีลักษณะดังนี้
 1 มีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะ และการคิดรวบยอดของวิชาคณิตศาสตร์
 2 รู้จักคิดอย่างมีเหตุผล และมีความสามารถในการแก้ปัญหา
 3 มีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์
 4 สามารถนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ไปใช้ได้อย่างมีคุณภาพ

อ้างอิง (นิตยา ประพฤติกิจ (2536) การพัฒนาเด็กปฐมวัย. พร้อมพรรณ อุดมสิน (2533) การวัดและการประเมินผลการเรียนการสอนคณิตศาสตร์. เรวัตร พรหมเพ็ญ (2536)พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา.)

3 ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์
แนวคิดของทฤษฎี เด็กต้องมีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง และแสดงความคิดเห็นเพื่อให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดจาการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งครูผู้สอนต้องมีการจัดการเรียนรู้อย่างมีระบบโดยเน้นผู้เรียนเป็นหลัก

อ้างอิง (นิตยา ประพฤติกิจ (2536) การพัฒนาเด็กปฐมวัย.)

4 ขอบข่ายของคณิตศาสตร์

 1 การนับ              
 2 ตัวเลข
 3 การจับคู่
 4 การจัดประเภท
 5 การเปรียบเทียบ
 6 การจัดลำดับ
 7 รูปทรงและพื้นที่
 8 การวัด
 9 เชต
 10 เศษส่วน
 11 การทำตามแบบหรือลวดลาย
 12 การอนุรักษ์

อ้างอิง (นิตยา ประพฤติกิจ (2536) ขอบข่ายหลักสูตรคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย. เยาวพา เดชะคุปต์ กิจกรรมสำหรับเด็กวัยก่อนเรียน)

 5 หลักการสอนคณิตศาตร์
  1 ให้นักเรียนปฏิบัติและทำกิจกรรมด้วยตนเอง
  2 สร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้เป็นกันเองระหว่างครูกับนักเรียน
  3 ใช้สื่อที่เป็นรูปธรรมมากกว่าสื่อที่เป็นนามธรรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้น
  4 เชื่อมโยงระหว่างสื่ิอกับความเข้าใจด้านคณิตศาสตร์
  5 การจบบทเรียนด้วยความประทับใจ

  อ้างอิง (Maxa Sobel (2544) ศิลปะการสอนคณิตศาสตร์. นิตยา ประพฤติกิจ (2536) การพัฒนาเด็กปฐมวัย. เยาวพา เดชะคุปต์ (2545) การศึกษาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ 1.)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น