Welcome to Mathematic Experiences Management for Early Childhood


วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย
เรื่อง การเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู 
โดย สุธีรา ท้าวเวชสุวรรณ มหาวิทยาลัยศิลปากร
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1 เพื่อเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู
2 เพื่อศึกษาความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู
วิธีดำเนินงานวิจัย
ประชากรและตัวอย่าง
เด็กปฐมวัย ชาย หญิง ชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนอนุบาลกาญจนบุรี ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ห้องอนุบาล 2/1-2/6  จำนวน 6 ห้อง รวม 180 คน
กลุ่มตัวอย่าง
อนุบาล 2/4 กลุ่มทดลอง อนุบาล 2/6 กลุ่มควบคุม
เนื้อหาที่ใช้ทดลอง
ประกอบด้วยเนื้อหาดังนี้ 1) การนับสิ่งต่างๆ 2) การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง 3) การเปรียบเทียบจำนวนน้อยกว่า มากกว่า เท่ากับ 4) การนับจำนวนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง
ระยะเวลา
ใช้เวลาการจัดประสบการณ์ 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน วันละคาบ คาบละ 20 นาที
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1 แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลงโดยครูเป็นผู้สร้างขึ้นจำนวน 20 แผน ใช้เกมการศึกษา 20 เกม เพลงคณิตศาตร์ 8 เพลง ใช้เวลาจัดประสบการณ์ 20 คาบ
2 แผนการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครูจำนวน 20 แผน เกม 20 เกม ใช้เวลาจัดประสบการณ์ 20 คาบ
3 แบบประเมินความพร้อมทางคณิตศาสตร์จำนวน 20 ข้อ
4 แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู
หลักในการใช้เกมการศึกษา
ครูต้องเตรียมเกมให้พร้อม ให้เด็กหมุนเวียนเล่นอย่างทั่วถึง มีเกมเพียงพอให้เด็กเล่น เรียงลำดับเกมจากง่ายไปหายาก และจัดรูปแบบการเล่นให้เล่นคนเดียว หรือเล่นสองคน หรือเล่นกลุ่มใหญ่ กำหนดกติกาในการเล่น จัดให้เหมาะสมสอดคล้องกับความสามารถของเด็กแต่ละคน
ขั้นตอนการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษา
1 ขั้นนำ ครูเป็นผู้นำเข้าสู่บทเรียน เช่น ครูทบทวนบทเรียนด้วยการซักถาม หรือใช้สื่อประกอบการนำเข้าสู่บทเรียนเพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนสนใจติดตามบทเรียนใหม่
2 ขั้นกิจกรรม ครูอธิบายวิธีการเล่นเกม ข้อตกลงและกติกาการเล่นเกมให้นักเรียนเข้าใจก่อนที่นักเรียนจะลงมือปฏิบัติ
3 ขั้นอภิปราย ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย โดยมีครูเป็นผู้นำการอภิปราย
4 ขั้นสรุป ครูและนักเรียนรวบรรวมความรู้ที่ไดจากขั้นกิจกรรมและขั้นอภิปรายแล้วนำมาสรุปให้ได้สาระตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้



แผนภูมิ แผนปฏิบัติการขั้นตอนการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง

ขั้นตอนการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู
1 ขั้นนำ เป็นการแจกเกมและวิธีการเล่นเกมชนิดต่างๆ
2 ขั้นสอน เด็กๆได้ลงมือเล่นเกมที่กำหนดไว้
3 ขั้นสรุป เป็นการสรุปความรู้ที่ได้จากเกมนั้นๆ
4 ขั้นวัดและประเมินผล เป็นการสังเกตการเล่นเกมว่าเล่นได้ถูกต้องหรือไม่ 





แผนภูมิ แผนปฏิบัติการ ขั้นตอนการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู
สรุปผลการวิจัย
    จากผลการวิจัยพบว่า ความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่จัดประสบการณ์โดยการใช้เกมการศึกษาและเพลงกับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู มีความแตกต่างกันโดยเด็กปฐมวัยกลุ่มทดลองที่จัดประสบการณ์โดยการใช้เกมการศึกษาและเพลง มีค่าเฉลี่ยของผลคะแนนการประเมินความพร้อมทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเด็กปฐมวัยกลุ่มควบคุมที่จัดประสบการณ์ตามคู่มือครู ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า เด็กปฐมวัยชอบเล่นเกมและร้องเพลงอยู่แล้ว เกมการศึกษาและเพลงที่จัดให้มีความหลากหลาย เป็นเรื่องใกล้ตัว ช่วยให้เด็กจดจำสาระต่างๆได้ดี กล้าแสดงออก มีความสนุกสนานเพลิดเพลิน ช่วยให้เด็กมีความกระตือรือร้น มีความสนใจที่จะเรียนรู้ เด็กได้แสดงความคิดเห็น การแบ่งปันของเล่นกันและกัน รู้จักรอคอยในการเล่นและเกมการศึกษาเป็นสิ่งที่เด็กสัมผัสจับต้องได้ การได้ร้องเพลงที่เด็กๆชอบ ทำให้เด็กมีความสุขส่งผลให้เด็กปฐมวัยที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลงมีความพร้อมทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเด็กปฐมวัยที่จัดประสบการณ์ตามคู่มือครู

วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556



แผนการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์
เรื่องหน่วยกล้วย
วันศุกร์ เรื่องข้อควรระวังในการทานกล้วย โดยใช้นิทานเป็นสื่อ
เมื่อวานนี้เด็กๆก็ได้เรียนเรื่องการขยายพันธ์กล้วยไปแล้วนะค่ะ วันนี่ครูจะมาสอนเด็กๆเรื่องข้อควรระวังในการทานกล้วย
นิทานเรื่องการทานกล้วย
วันนี้เวลาเจ็ดนาฬิกา อากาศแจ่มใส นกกับหนูเดินทางไปโรงเรียนด้วยกัน ซึ่งนกกับหนูเป็นเพื่อนรักกัน เมื่อนกและหนูมาถึงโรงเรียนก็รีบนำกระเป๋าไปเก็บไว้ในห้องเรียน จากนั้นเวลาแปดนาฬิกาทั้งสองก็มาเข้าแถวเคารพธงชาติกับเพื่อนๆ เวลาสองโมงครึ่งเด็กๆก็เข้าเรียน วันนี้คุณครูจะสอนเด็กๆเรื่อง ข้อควรระวังในการทานกล้วยนะค่ะ ครูบอกกับเด็กๆว่า การทานกล้วยน้ำหว้าขณะท้องว่าง จะทำให้เด็กๆปวดท้องได้นะค่ะ ดังนั้นถ้าเด็กๆจะทานกล้วยต้องทานอาหารก่อน หนูมัวแต่นั่งหลับจึงไม่ได้ฟังเรื่องที่ครูสอนในวันนี้ ตกเย็นเวลาสิบหกนาฬิกา เด็กๆก็เดินทางกลับบ้าน หนูรู้สึกหิวมากจึงวิ่งไปหาอาหาร หนูพบต้นกล้วยที่หลังบ้านต้นหนึ่งกำลังออกผลสุกเหลืองอร่ามน่ากินมากหนูไม่รอช้ารีบปีนไปเอากล้วยแล้วกินทันที ต่อมานกมาหาหนูที่บ้านก็ได้ยินเสียงหนูร้องด้วยความเจ็บปวด โอ้ย ช่วยด้วยๆ ปวดท้องเหลือเกิน นกจึงถามหนูว่าเจ้าเป็นอะไร หนูตอบ ข้ากินกล้วยจึงปวดท้อง นกรีบพาหนูไปหาหมอ นกบอกกับหนูว่า ถ้าเจ้าตั้งใจฟังเรื่องที่ครูสอนในตอนเช้า เจ้าคงไม่เป็นแบบนี้หรอก ใช่ ต่อไปข้าจะตั้งใจฟังคำสั่งสอนของครู


สื่อที่ใช้ประกอบการสอน
เมื่อเด็กฟังนิทานจบแล้ว ถามเด็กว่า
หนูกับนกไปโรงเรียนกี่โมง?
หนูกินอะไรจึงปวดท้องค่ะ?
หนูกับนกกลับบ้านกี่โมง?

ชื่อมโยงคณิตศาสตร์   ลำดับเวลาและเหตุการณ์
หมายเหตุ   อาจารย์ให้นักศึกษาที่ยังไม่นำเสนอการสอนให้ทำใส่ Blogger ซึ่งกลุ่มดิฉันทำเรื่องหน่วยกล้วย และดิฉันได้สอนในวันศุกร์ เรื่อง ข้อควรระวัง


วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 16
วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วันนี้อาจารย์นำผลงานทางคณิตศาสตร์ที่ครูและเด็กร่วมกันทำมาให้นักศึกษาดูเป็นตัวอย่างในหน่วยเรื่องนม

รสนมที่เด็กๆชอบที่สุด
   สรุป                 นมที่เด็กชอบมากที่สุด คือ รสสตอบอรี่
         นมที่เด็กไม่ชอบ คือ นมข้น

จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอการสอน ดังนี้
กลุ่มที่ 1 หน่วยข้าว


  • การนับจำนวนของข้าว

    กลุ่มที่ 2 สอนเรื่องหน่วยสับปะรด

    วันจันทร์สอนเรื่อง สับปะรดมีลักษณะอย่างไร
    วันศุกร์ สอนการถนอมอาหาร โดยการทำสับปะรดกวน

    หมายเหตุ กลุ่มที่ยังไม่นำเสนออาจารย์ให้ทำลงใน bloger

วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 15
วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การเรียนการสอน
ส่งงานมายแม็ปมาตรฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ให้นักศึกษาสอบสอนเป็นรายกลุ่ม โดยแบ่งเป็น 5 วัน

กลุ่มที่ 1 หน่วยไข่
การนำเสนอยังมีข้อผิดพลาด อาจารย์จึงให้นำเสนอใหม่

กลุ่มที่ 2 หน่วยผลไม้
วันจันทร์ สอนเรื่องชนิดของผลไม้

วิธีการสอน
ครูนำผลไม้ใส่ตะกร้า นำผ้ามาปิดไว้ แล้วถามเด็กๆว่า เด็กๆคิดว่ามีอะไรอยู่ในตะกร้าค่ะ
เด็กก็จะช่วยกันตอบ โดยที่ใครจะตอบให้ยกมือขึ้น จากนั้นครูก็เปิดผ้าออก แล้วถ้าเด็กคนใดทายถูกก็ให้เพื่อนๆปรบมือให้
การนับผลไม้ คือ นำผลไม้ทีละลูกมาเรียง โดยมีผลไม้ 1
ผล เพิ่มขึ้นอีก 1 เป็น 2 นับทีละ 1 แบบนี้จนถึงผลสุดท้าย แล้วครูนำป้ายตัวเลขมากำกับไว้ที่ผลไม้ลูกสุดท้าย
ครูตั้งเกณฑ์ ให้เด็กๆนำผลไม้ที่มีสีแดงมาวางไว้ข้างหน้า ผลไม้ที่มีสีแดงมี 2 ผล กับผลไม้ที่ไม่มีสีแดงมี 4 ผล ของจำนวนทั้งหมด

วันอังคาร สอนเรื่องลักษณะของผลไม้
วิธีการสอน
ครูถามเด็กๆว่า เด็กอยากทราบไหมค่ะว่า ส้มกับสับปะรดมีลักษณะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร โดยครูส่งส้มให้เด็กดูก่อน โดยให้เด็กๆสังเกตรูปทรง สี ดมกลิ่น สัมผัสผิว ว่ามีลักษณะอย่างไร เมื่อเด็กๆส่งให้เพื่อนครบแล้ว ครูส่งสับปะรดให้เด็กดูและสังเกตลักษณะเหมือนที่สังเกตส้ม จากนั้นให้เด็กๆช่วยกันตอบ และครูพร้อมสรุปข้อมูลให้เด็กเห็นภาพชัดเจน
งานที่อาจารย์สั่ง
ในสัปดาห์หน้าให้กลุ่มที่เหลือ ออกมาสาธิตการสอนให้ครบทุกกลุ่ม



สัปดาห์ที่ 14
วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

หมายเหตุ ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดธุระ แต่อาจารย์มอบหมายงานให้นักศึกษาเตรียมสอบแผนการจัดกิจกรรมให้กับเด็กในอาทิตย์หน้า
สัปดาห์ที่13
วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

Mind Mapping มาตรฐานคณิตศาสตร์

การเรียนการสอน
วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับวิธีในการเลือกหน่วยการสอนเด็กปฐมวัย ดังนี้
1 เรื่องใกล้ตัวเด็ก
2 มีประโยชน์กับเด็ก
3 เรื่องที่เด็กรู้จัก
4 เรื่องที่เสริมสร้างพัฒนาการเด็ก
5 เรื่องง่ายๆที่เด็กสามารถทำได้
6 เรื่องที่สำคัญต่อเด็ก
7 คำนึงถึงผลกระทบต่อเด็ก
สัปดาห์ที่ 12
วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556

การเรียนการสอน
วันนี้อาจารย์ให้ส่งงานกลุ่มMind Mapping  กลุ่มของดิฉันเรื่องหน่วยกล้วย พร้อมท้ังงานเดี่ยวแผนการจัดกิจกรรมรายวันที่สอดคล้องกับมาตรฐานคณิตศาสตร์