สรุปงานวิจัย
เรื่อง การเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู
โดย สุธีรา ท้าวเวชสุวรรณ มหาวิทยาลัยศิลปากร
วัตถุประสงค์ของการวิจัย1 เพื่อเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู
2 เพื่อศึกษาความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู
วิธีดำเนินงานวิจัย
ประชากรและตัวอย่าง
เด็กปฐมวัย ชาย หญิง ชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนอนุบาลกาญจนบุรี ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ห้องอนุบาล 2/1-2/6 จำนวน 6 ห้อง รวม 180 คน
กลุ่มตัวอย่าง
อนุบาล 2/4 กลุ่มทดลอง อนุบาล 2/6 กลุ่มควบคุม
เนื้อหาที่ใช้ทดลอง
ประกอบด้วยเนื้อหาดังนี้ 1) การนับสิ่งต่างๆ 2) การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง 3) การเปรียบเทียบจำนวนน้อยกว่า มากกว่า เท่ากับ 4) การนับจำนวนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง
ระยะเวลา
ใช้เวลาการจัดประสบการณ์ 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน วันละคาบ คาบละ 20 นาที
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1 แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลงโดยครูเป็นผู้สร้างขึ้นจำนวน 20 แผน ใช้เกมการศึกษา 20 เกม เพลงคณิตศาตร์ 8 เพลง ใช้เวลาจัดประสบการณ์ 20 คาบ
2 แผนการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครูจำนวน 20 แผน เกม 20 เกม ใช้เวลาจัดประสบการณ์ 20 คาบ
3 แบบประเมินความพร้อมทางคณิตศาสตร์จำนวน 20 ข้อ
4 แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู
หลักในการใช้เกมการศึกษา
ครูต้องเตรียมเกมให้พร้อม ให้เด็กหมุนเวียนเล่นอย่างทั่วถึง มีเกมเพียงพอให้เด็กเล่น เรียงลำดับเกมจากง่ายไปหายาก และจัดรูปแบบการเล่นให้เล่นคนเดียว หรือเล่นสองคน หรือเล่นกลุ่มใหญ่ กำหนดกติกาในการเล่น จัดให้เหมาะสมสอดคล้องกับความสามารถของเด็กแต่ละคน
ขั้นตอนการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษา
1 ขั้นนำ ครูเป็นผู้นำเข้าสู่บทเรียน เช่น ครูทบทวนบทเรียนด้วยการซักถาม หรือใช้สื่อประกอบการนำเข้าสู่บทเรียนเพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนสนใจติดตามบทเรียนใหม่
2 ขั้นกิจกรรม ครูอธิบายวิธีการเล่นเกม ข้อตกลงและกติกาการเล่นเกมให้นักเรียนเข้าใจก่อนที่นักเรียนจะลงมือปฏิบัติ
3 ขั้นอภิปราย ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย โดยมีครูเป็นผู้นำการอภิปราย
4 ขั้นสรุป ครูและนักเรียนรวบรรวมความรู้ที่ไดจากขั้นกิจกรรมและขั้นอภิปรายแล้วนำมาสรุปให้ได้สาระตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
แผนภูมิ แผนปฏิบัติการขั้นตอนการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง
ขั้นตอนการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู
1 ขั้นนำ เป็นการแจกเกมและวิธีการเล่นเกมชนิดต่างๆ
2 ขั้นสอน เด็กๆได้ลงมือเล่นเกมที่กำหนดไว้
3 ขั้นสรุป เป็นการสรุปความรู้ที่ได้จากเกมนั้นๆ
4 ขั้นวัดและประเมินผล เป็นการสังเกตการเล่นเกมว่าเล่นได้ถูกต้องหรือไม่
แผนภูมิ แผนปฏิบัติการ ขั้นตอนการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู
สรุปผลการวิจัย
จากผลการวิจัยพบว่า ความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่จัดประสบการณ์โดยการใช้เกมการศึกษาและเพลงกับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู มีความแตกต่างกันโดยเด็กปฐมวัยกลุ่มทดลองที่จัดประสบการณ์โดยการใช้เกมการศึกษาและเพลง มีค่าเฉลี่ยของผลคะแนนการประเมินความพร้อมทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเด็กปฐมวัยกลุ่มควบคุมที่จัดประสบการณ์ตามคู่มือครู ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า เด็กปฐมวัยชอบเล่นเกมและร้องเพลงอยู่แล้ว เกมการศึกษาและเพลงที่จัดให้มีความหลากหลาย เป็นเรื่องใกล้ตัว ช่วยให้เด็กจดจำสาระต่างๆได้ดี กล้าแสดงออก มีความสนุกสนานเพลิดเพลิน ช่วยให้เด็กมีความกระตือรือร้น มีความสนใจที่จะเรียนรู้ เด็กได้แสดงความคิดเห็น การแบ่งปันของเล่นกันและกัน รู้จักรอคอยในการเล่นและเกมการศึกษาเป็นสิ่งที่เด็กสัมผัสจับต้องได้ การได้ร้องเพลงที่เด็กๆชอบ ทำให้เด็กมีความสุขส่งผลให้เด็กปฐมวัยที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลงมีความพร้อมทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเด็กปฐมวัยที่จัดประสบการณ์ตามคู่มือครู
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น